Posted on

เรือนเครื่องสับและเฮือนไม้บั่ว

เรือนเครื่องสับ เรือนไม้ขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ ใช้ไม้สัก และไม้เนื้อแข็ง เช่น เต็ง รัง ตะเคียน ไม้แดง เป็นวัสดุหลัก มีการ “ปรุง” (ตัดและขัดเกลาผิว) หน้าตัดและความยาวไม้ ให้ได้ขนาด ประกอบแต่ละส่วนเข้าด้วยกันด้วยวิธีการบากเจาะ เพื่อประกบหรือเข้าสลักเดือย เป็นต้น ในล้านนามี ๒ แบบ คือ “เฮือนไม้จิ๋ง” และ “เฮือนกาแล” รูปทรงหลังคาโดยทั่วไปเป็นหลังคาจั่วที่มีมุมเอียงไม่สูงชันนัก และระนาบหลังคาเรียบไม่แอ่นโค้ง ยื่นชายคายาวออกไปคลุมอาคารทางด้านยาว และมี “แง้บหน้า” (ไขราปีกนก) คือ กันสาดด้านสกัดอยู่ใต้หน้าจั่ว การจัดวางผังเรือน มักจะมีอาคาร ๒ หลัง วางขนานกันตามยาว ทำให้ด้านหน้าเรือนมองเห็นหลังคาจั่วแฝด ที่มีแง้บหน้าแล่นยาวต่อเนื่องกันตลอดแนวทั้งสองหลังไปบรรจบเข้ามุมกับชายคาด้านยาว เรือนกาแลแตกต่างจากเรือนไม้จริงที่สังเกตได้ง่าย คือ มีไม้กาแลติดอยู่ที่ยอดปั้นลมหลังคา การจัดวางเสาของตัวเรือนในระบบตาราง สัมพันธ์กับแนวหลังคา เป็นด้านยาวและด้านสกัด โดยทั่วไปด้านยาวภายใต้หลังคา แบ่งเป็น ๕ ช่วงเสา และจัดวางเรือนขนานกันตามยาว แต่อาจมีขนาดเรือน หลังคา และระยะบางช่วงเสาไม่เท่ากัน เฮือนไม้บั่ว […]

Posted on

เฮือนไม้จิ๋งและเฮือนกาแล

เรือนแบบประเพณีนิยมล้านนาดั้งเดิม มีทั้งรูปแบบ “เฮือนไม้จิ๋ง” (เรือนไม้จริง) และ “เฮือนกาแล” (เรือนกาแล) เรือนไม้จริง รูปทรงเรือนคหบดีล้านนาโบราณที่อ้างอิงได้ ปรากฏในภาพลายเส้น เรือนของเจ้าราชสีห์ ผู้ปกครองเมืองเชียงราย ที่เขียนโดย คาร์ล บ็อค นักสำรวจชาวนอร์เวย์ ในปี พ.ศ. ๒๔๒๔ ส่วน เรือนกาแล หรือในอดีตเรียกว่า “เรือนเชียงแสน” มีองค์ประกอบพิเศษที่เด่นชัดแตกต่างจากเรือนไม้จริงโดยทั่วไป ตามความเชื่อที่ได้รับอิทธิพลมาจากชาวลัวะชนพื้นเมืองเดิมว่าเป็นเครื่องปกป้องสิ่งอัปมงคล คือ “กาแล” เป็นไม้แกะสลักไขว้ติดอยู่ที่ยอดปั้นลมหลังคาจั่ว และ “หัมยนต์” ซึ่งเป็นไม้แกะสลักติดที่เหนือช่องประตูทางเข้าห้องนอนเจ้าของบ้าน “เฮือนกาแล” มีแหล่งกำเนิดในชุมชนเมืองเชียงใหม่และกระจายไปสู่พื้นที่โดยรอบบริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำปิงตอนบน คือ จังหวัดเชียงใหม่และลำพูน ส่วนจังหวัดในที่ราบลุ่มแม่น้ำอื่นๆ มีเรือนกาแลเป็นส่วนน้อย เรือนทั้ง ๒ รูปแบบ ใช้วิธีก่อสร้างแบบเรือนเครื่องสับ ซึ่งใช้ไม้จริงเป็นวัสดุก่อสร้างหลัก จัดขนาดไม้โครงสร้างแต่ละส่วนเป็นระเบียบ ประกอบเข้าไม้แบบสลักเดือย ตกแต่งด้วยไม้แกะสลักต่างๆ โดยมีตำราการสร้างเป็นแบบแผนด้วยความประณีต โครงสร้างระบบเสา – คาน ใช้ไม้เนื้อแข็ง วางเสาเป็นระบบตาราง ระยะช่วงเสาในด้านยาวแคบกว่าช่วงเสาในด้านสกัดของแนวหลังคา และมีเทคนิคการลดจำนวนเสาเรือนให้ได้ช่วงเสากว้างขึ้นโดยใช้ “เสาป๊อก” (เสาสั้นรับกลางช่วงคาน) […]