Posted on

เรือนเครื่องสับและเฮือนไม้บั่ว

เรือนเครื่องสับ เรือนไม้ขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ ใช้ไม้สัก และไม้เนื้อแข็ง เช่น เต็ง รัง ตะเคียน ไม้แดง เป็นวัสดุหลัก มีการ “ปรุง” (ตัดและขัดเกลาผิว) หน้าตัดและความยาวไม้ ให้ได้ขนาด ประกอบแต่ละส่วนเข้าด้วยกันด้วยวิธีการบากเจาะ เพื่อประกบหรือเข้าสลักเดือย เป็นต้น ในล้านนามี ๒ แบบ คือ “เฮือนไม้จิ๋ง” และ “เฮือนกาแล” รูปทรงหลังคาโดยทั่วไปเป็นหลังคาจั่วที่มีมุมเอียงไม่สูงชันนัก และระนาบหลังคาเรียบไม่แอ่นโค้ง ยื่นชายคายาวออกไปคลุมอาคารทางด้านยาว และมี “แง้บหน้า” (ไขราปีกนก) คือ กันสาดด้านสกัดอยู่ใต้หน้าจั่ว การจัดวางผังเรือน มักจะมีอาคาร ๒ หลัง วางขนานกันตามยาว ทำให้ด้านหน้าเรือนมองเห็นหลังคาจั่วแฝด ที่มีแง้บหน้าแล่นยาวต่อเนื่องกันตลอดแนวทั้งสองหลังไปบรรจบเข้ามุมกับชายคาด้านยาว เรือนกาแลแตกต่างจากเรือนไม้จริงที่สังเกตได้ง่าย คือ มีไม้กาแลติดอยู่ที่ยอดปั้นลมหลังคา การจัดวางเสาของตัวเรือนในระบบตาราง สัมพันธ์กับแนวหลังคา เป็นด้านยาวและด้านสกัด โดยทั่วไปด้านยาวภายใต้หลังคา แบ่งเป็น ๕ ช่วงเสา และจัดวางเรือนขนานกันตามยาว แต่อาจมีขนาดเรือน หลังคา และระยะบางช่วงเสาไม่เท่ากัน เฮือนไม้บั่ว […]