Posted on

ฝาตั้ง ฝาตาก ฝาแป้นหลั่น ฝาไม้บั่ว

ฝาผนัง มีลักษณะเป็นแผงประกอบสำเร็จ ก่อนติดตั้งทับด้านนอกแนวเสา ยาวต่อเนื่องไปตลอดแนวอาคาร โดยวางบนหัวของแวงและตง ที่ยื่นออกมารับแต่ละด้าน ประกอบด้วยกรอบไม้โดยรอบที่เซาะร่องเป็นรางสำหรับวางแผ่น “ลูกกรุ” ซึ่งมีทั้งวัสดุ แผ่นกระดานไม้จริง เรียกว่า “ฝาไม้แป้น” และไม้ไผ่ เรียกว่า “ฝาไม้บั่ว” “ฝาไม้แป้น” มีรูปแบบต่างๆ เช่น “ฝาตาผ้า” แบ่งกรอบซอยภายในตามแบบแผนมีกรอบตามแนวตั้งเป็นหลักและกรอบแนวนอนภายในอีก ๒ แนวใกล้ขอบบน – ล่าง แบ่งช่องลูกกรุตามตั้งออกเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้ายาวตามตั้งในช่วงกลาง และสี่เหลี่ยมเล็กในแถวบน – ล่าง เซาะร่องกรอบไม้เป็นรางเพื่อบรรจุลูกกรุเข้าลิ้นแยกในแต่ละช่อง และติด “เล็บ” หรือคิ้วไม้ประกับภายในช่องกรอบย่อยโดยรอบอีกชั้นหนึ่ง ใช้กับเรือนคหบดี เช่น เรือนกาแล แบบที่ ๒ เรียกว่า “ฝาตั้ง” วางเรียงลูกกรุตามตั้ง รอยต่อชน แบบที่ ๓ เรียกว่า “ฝาแป้นหลั่น” วางเรียงลูกกรุตามตั้ง รอยต่อแบบบังใบ “ฝาตั้ง” และ “ฝาแป้นหลั่น” นี้ไม่มีแบบแผนตายตัวในการจัดแนวไม้คิ้วทับแนว เช่น ไม้คิ้วทับแนวตามระยะช่วงเสา ไม้คิ้วทับรอยต่อลูกกรุตามตั้งทุกแนว หรือจัดไม้คิ้วตามตั้ง […]

Posted on

เสาป๊อก แหนบ ขั้นไดและเสาแหล่งหมา

องค์ประกอบสำคัญที่มีลักษณะพิเศษเป็นเอกลักษณ์ของเรือนพักอาศัยพื้นถิ่นแบบล้านนา ยกตัวอย่างเช่น เสาป๊อก ในโครงสร้างของเรือนไม้จริงมีการใช้ “เสาป๊อก” (เสาสั้น) ทั้งชั้นใต้ถุนและชั้นโครงหลังคา เป็นการเพิ่มจุดรับน้ำหนักพื้นหรือโครงหลังคา โดยทำให้สามารถเว้นระยะระหว่างช่วงเสาในชั้นพื้นเรือนได้กว้างขึ้น โดยไม่ต้องมีเสาลอยเกะกะในบริเวณพื้นที่โล่ง นอกจากนี้ การแยกส่วนของไม้พื้นแต่ละห้องที่มีระดับเดียวกันเพื่อแยกการรับน้ำหนักจร จะใช้ไม้พื้นที่มีความหนาเท่ากับความหนาตง บวกกับความหนาไม้พื้นตามปกติ เรียกว่า “ไม้แป้นท่อง” วางตามแนวเสา แหนบ แหนบ คือ แผงกรุปิดในภายในกรอบโครงหลังคาจั่ว สำหรับบ้านเรือน มีการทำแต่ละช่องระหว่างโครงไม้ ที่เรียกว่า “แหนบ” โดยทั่วไปแหนบด้านจั่วหัวท้ายเรียกว่า “แหนบกั้นก้อง” มักจะกรุด้วย “ลูกกรุ” คือไม้ทึบแผ่นบาง ส่วนแหนบที่อยู่ภายในอาคารที่กั้นระหว่างเติ๋นกับห้องนอน เรียกว่า “แหนบเติ๋น” มักจะใส่ไม้กลึงเว้นระยะตามตั้ง ที่เรียกว่า “ลูกแก้ว” เพื่อระบายอากาศ และพาดไม้ “ขัวย่าน” ซึ่งเป็นไม้ไผ่คู่วางพาดขนาน สำหรับช่างขึ้นไปซ่อมดูแลโครงหลังคา ในชั้นโครงหลังคา ก็อาจเสริมกำลังโครงสร้าง กรณีที่ไม่ต้องการให้มีเสาจากพื้นขึ้นมาตั้งรับกลางช่วงด้วยชิ้นส่วนโครงค้ำเฉพาะตามตั้ง – ตามนอน ด้วย “เสาป๊อก” ระหว่างช่วงเสาด้านยาวและด้านสกัด ค้ำระหว่างไม้ขื่อหรืออะเสตามนอน ๒ ระดับ แต่อาคารจะไม่มีการใช้โครงค้ำในแนวทแยงเลย ยกเว้นบางหลังที่มี “ยางค้ำ” […]