Posted on

การตกแต่งพื้นผิวอาคารเสนาสนะ

องค์ประกอบสถาปัตยกรรมประเภทอาคารเสนาสนะที่มีพื้นผิวเรียบและมองเห็นได้ชัด ได้แก่ หน้าบัน โครงหลังคา เสา ผนัง รวมไปถึงประตู หน้าต่าง หรือฝ้าเพดาน มักตกแต่งพื้นผิวเป็นลวดลายด้วยงานปิดทองแบบต่างๆ ทั้งลายบนผิวเรียบที่เรียกว่า “ลายคำ” ที่มีมาตั้งแต่โบราณ โดยปรากฏในงานสถาปัตยกรรมล้านนาตั้งแต่ช่วงยุคทอง เป็นวิธีการติดแผ่นทองคำเปลวลงในลายฉลุของแม่พิมพ์ลงบนพื้นผิวที่ทาสีแดงหรือสีดำ อาจมีการเขียนเส้นตัดขอบด้วย หรือมีการใช้เหล็กจารขูดเป็นลวดลายภายในบริเวณลายสีทอง เรียกว่า “ฮายลาย” และแบบลายนูน ๓ มิติ ด้วยการติดไม้ฉลุลายทับบนพืนเรียบด้านหลัง เรียกว่า “ปิดทองลายฉลุ” ซึ่งอาจมีการลงสีพื้นหลัง หรือประดับกระจกสีแผ่นบางบนลวดลาย หรือการขุดร่องลึกลงไปจากพื้นผิว เรียกว่า “ปิดทองร่องชาด” และนิยมงานประดับกระจกสีมากขึ้น มีทั้งที่ใช้ “กระจกเกรียบ” หรือกระจกสีที่ดาดลงบนแผ่นดีบุก แบบโบราณและ “กระจกแก้ว” พบได้ในสมัยหลัง ที่มักจะผสมกับการปิดทอง ได้แก่ แบบ “ปิดทองร่องกระจก” มีลักษณะเป็นลายปิดทองนูนต่ำ พื้นหลังขุดร่องประดับกระจกสี และ “ประดับกระจกลายยา” ซึ่งมีลักษณะตัวลายขุดร่องประดับกระจกสี ส่วนพื้นหลังปิดทองทึบ เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีเทคนิค “สะตายจีน” คืองานปูนปั้นน้ำมันแบบจีน โดยใช้ปูนขาวผสมน้ำมันตั้งอิ้วที่สกัดจากต้นทั่ง ลวดลายส่วนใหญ่ยังคงยึดถือแบบแผนดั้งเดิมที่สืบทอดมาจากยุคทอง เช่น ลายแม่แบบต่างๆ […]