ในช่วงยุคทองของอาณาจักรล้านนาเป็นต้นมา นอกจากเจดีย์แล้ว มีองค์ประกอบเน้นทางเข้าหลักเข้าสู่เขตศาสนสถาน และอาคารเสนาสนะ เป็นอีกองค์ประกอบที่สำคัญที่สร้างด้วยวัสดุก่ออิฐถือปูน ได้แก่ ซุ้มโขง ซึ่งนอกจากประดับเจดีย์แล้ว ยังสร้างเป็นซุ้มประตูทางเข้าเขตพุทธาวาส กรอบประตูวิหาร และประดับกู่มณฑป ภายในวิหารด้วย โดยพัฒนามาใช้ลายพรรณพฤกษาแบบฉลุโปร่ง และรูปสัตว์หิมพานต์ รวมถึงลาย “นาคเกี้ยว” ลักษณะเป็นรูปนาค ๒ ตัว มีหางเกี่ยวกันเป็นกรอบซุ้ม ภายในช่องโค้งเหนือทางเข้าอาจประดับด้วยงานลายคำ เช่น ธรรมจักรและปูรณฆฏะ นอกจากนี้ มีการเน้นทางเข้าสำคัญด้วยประติมากรรมลอยตัวปูนปั้นรูปสัตว์ที่มีความหมายตามแนวความคิดจักรวาลคติ หรือการเฝ้ารักษาศาสนสถาน เช่น รูปสิงห์คู่ขนาบสองข้างทางเข้าเขตพุทธาวาส ตั้งอยู่ด้านหน้าซุ้มโขงอีกชั้นหนึ่ง และบันไดนาคที่ขึ้นสู่สถาปัตยกรรมสำคัญ เช่น เจดีย์ วิหาร อุโบสถ หอธรรม ที่นอกจากประดับรูปนาคหรือมกรคายนาคแล้ว บางแห่งอาจประดับด้วยรูปมอม และมีการประดับด้วยรูปเทวดาปูนปั้นหรือไม้แกะสลักในส่วนต่างๆ เช่น เป็นปากแลตั้งระหว่างเครื่องลำยองปิดปั้นลมต่างระดับ ประตูบานคู่ด้านหน้าวิหาร บริเวณเสาหรือมุมผนังอาคารด้านนอก หรือบนโครงหลังคาในระดับไม้คอสอง ในช่วงหลังยุคทองของอาณาจักรล้านนา มีการทำซุ้มโขง สิงห์คู่ บันไดนาค และรูปเทวดา โดยมีรูปทรง สัดส่วนการประดับตกแต่ง ที่พัฒนาเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัย โดยเฉพาะบันไดนาค ซึ่งเลื้อยลำตัวลงมาขดเป็นวงอยู่บนพื้นด้านหน้าบันไดสองข้าง หรือมีส่วนหางปรากฏอยู่ทางบันไดด้านหลัง ที่มา: […]
Tag: จักรวาลคติ
การจัดผังบริเวณวัดในล้านนา
วัดโดยทั่วไปแบ่งพื้นที่เป็น ๓ เขต ประกอบด้วย “เขตพุทธาวาส” เป็นเขตสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ที่ประดิษฐานพระพุทธรูปและประกอบพิธีกรรมทางศาสนา มีสิ่งก่อสร้างหลักคือเจดีย์ (พระธาตุ) และวิหาร และบริเวณพื้นที่ว่างเป็นลานทราย นอกจากนั้น อาจมีอุโบสถ หอธรรมหอพระพุทธบาท หอระฆัง ศาลาบาตร ซึ่งอาจไม่มีครบทั้งหมดในแต่ละวัด เช่นบางวัดไม่จำเป็นต้องมีอุโบสถ เนื่องจากกลุ่มวัดในชุมชนล้านนาสมัยก่อน มักใช้อุโบสถร่วมกันในวัดใดวัดหนึ่ง เรียกว่า “หมวดอุโบสถ” ส่วน “เขตสังฆาวาส” เป็นเขตที่พำนักของพระสงฆ์ มีสิ่งก่อสร้าง คือ กุฏิ ห้องอาบน้ำ โรงเก็บอาหาร หอฉัน และศาลาการเปรียญ เป็นต้น ส่วน “เขตธรณีสงฆ์” เป็นอาณาเขตรอบวัด ได้มาจากการที่ฆราวาสกัลปนาที่ดินเพื่อเป็นประโยชน์แก่วัด แต่เดิมมักจะได้มาจากการกัลปนาโดยกษัตริย์ เขตพุทธาวาสตั้งอยู่ในตำแหน่งที่เข้าถึงเป็นลำดับแรกสุด ถัดมาเป็นเขตสังฆาวาสซึ่งอาจอยู่ด้านข้าง ด้านหลัง หรือโอบล้อมทั้งด้านข้างและด้านหลังของเขตพุทธาวาส ส่วนเขตธรณีสงฆ์จะมีทางเข้าด้านอื่นที่สามารถถึงได้ง่ายเช่นกัน การจัดวางตำแหน่งอาคารสำคัญในเขตพุทธาวาสของวัดในล้านนา ทั้งวัดหลวงและวัดราษฎร์ ส่วนใหญ่ยึดแนวแกนทิศตะวันออก – ตะวันตกเป็นแกนหลัก และวางแนวอาคารต่างๆ ตามยาวในทิศทางตามแนวแกนดังกล่าว อาคารสำคัญคือวิหาร จัดวางตามแนวแกนนี้เป็นลำดับแรก หันหน้าไปทางทิศตะวันออกตรงกับประตูทางเข้าวัด ซึ่งมักทำเป็นซุ้มโขง ลำดับต่อมาเป็นเจดีย์ที่ตั้งอยู่ทางด้านหลังวิหาร แต่บางวัดอาจมีเพียงวิหาร […]