Posted on

ทวยนาคตัน

ส่วนไม้ค้ำยันแบบหูช้างติดตั้งยื่นจากหัวเสาเพื่อรับชายคากันสาดตลอดแนวสองข้างอาคาร ในยุคทองของอาณาจักรล้านนานิยมสลักลายพญาลวง รูปคล้ายพญานาคหรือมังกรมีเขาและมีปีก ประกอบลายฉลุและขอบบน – ล่าง หลังช่วงยุคทองของอาณาจักรล้านนาจึงมีการทำลวดลายเป็นรูปสัตว์อื่นๆ โดยเฉพาะสัตว์หิมพานต์ชนิดต่างๆ รวมทั้งลายนาคเกี้ยว เทวดา หรือผสมผสานสัตว์หิมพานต์กับลายแม่แบบอื่นๆ เช่น ลายกระหนกและลายเมฆไหล สิ่งที่น่าสนใจคือลายประดับในองค์ประกอบที่ติดตั้งเรียงรายซ้ำๆ ในวิหารหรืออุโบสถหลายแห่งในล้านนา มักจะแกะสลักลวดลายไม่ซ้ำแบบในอาคารเดียวกัน ตามแต่จินตนาการของช่างผู้สร้างสรรค์

ที่มา: หนังสือสถาปัตยกรรมล้านนา
ภาพถ่าย: วีระพล สิงห์น้อย / รุ่งกิจ เจริญวัฒน์ / สถาปนิก 49