Posted on

อิทธิพลจากต่างประเทศ ตอน ๑ เจดีย์

ในช่วงยุคทองของอาณาจักรล้านนา มีเจดีย์บางแห่งที่มีรูปแบบพิเศษ แสดงถึงอิทธิพลจากต่างถิ่นอย่างชัดเจน โดยไม่ได้รวมเข้าในกระบวนการพัฒนารูปแบบสถาปัตยกรรมล้านนา กล่าวคือ ไม่รวมอยู่ในกลุ่มเจดีย์ ๒ รูปแบบหลัก ได้แก่ เจดีย์ทรงปราสาทและเจดีย์ทรงระฆัง ที่พัฒนาการมาเป็นแบบอย่างพื้นเมือง มีรูปลักษณ์แสดงถึงต้นแบบที่มาจากภายนอกอาณาจักรล้านนาอย่างชัดเจน เช่น เจดีย์เจ็ดยอด ที่ได้รับอิทธิพลจากอินเดีย และเจดีย์ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ที่ได้รับอิทธิพลจากสุโขทัย แต่รูปแบบเจดีย์เหล่านี้มีจำนวนไม่มากนัก เมื่อเทียบกับรูปแบบเจดีย์ที่ได้รับอิทธิพลจากพม่าในยุคหลัง เช่น เจดีย์ทรงกู่เต้าและเจดีย์ทรงระฆังแบบพม่า – มอญ ซึ่งมีการสร้างเป็นจำนวนมากในล้านนา อิทธิพลจากอินเดีย รูปแบบเจดีย์ที่ได้รับอิทธิพลทางพุทธศาสนาจากศิลปะอินเดียอย่างชัดเจนที่สุด คือ เจดีย์เจ็ดยอด เป็นเจดีย์ก่อด้วยศิลาแลง ภายในประดิษฐานพระพุทธรูปจำลอง ที่สร้างขึ้นในช่วงยุคทองของอาณาจักรล้านนา เมื่อครั้งมีการสังคายนาพระธรรมวินัยเป็นครั้งแรกในประเทศไทย ในปี พ.ศ. ๒๐๒๐ พญาติโลกราชทรงส่งพระสงฆ์ไปจำลองแบบจากวิหารมหาโพธิ์ เมืองพุกาม ซึ่งพม่าได้สร้างขึ้นในพุทธศตวรรษที่ ๑๘ โดยถ่ายทอดมาจากรูปแบบพระมหาโพธิเจดีย์ (พระมหาเจดีย์พุทธคยา) ประเทศอินเดีย โดยมีการปรับปรุงแบบบางส่วน เช่น การเพิ่มเจดีย์ทรงระฆังอีกสององค์ด้านหน้าจึงรวมเป็นเจ็ดยอด จากต้นแบบทั้งสองแห่งที่มีเพียงห้ายอด ส่วนฐานประทักษิณประดับรูปปูนปั้นเทวดายืนและนั่งในแต่ละด้าน มีช่องคั่นด้วยเสาติดผนังซ้อนสองชั้น ภายในประดิษฐานพระพุทธรูป อิทธิพลจากสุโขทัย ในช่วงยุคทองของอาณาจักรล้านนา มีการอัญเชิญพระสุมนเถระจากสุโขทัยมาเผยแผ่ศาสนาพุทธนิกายเถรวาทลังกาวงศ์ จึงได้รับอิทธิพลจากสุโขทัย คือ เจดีย์ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ ที่มีรูปทรงแบบดอกบัวตูม […]

Posted on

เครื่องประดับสถาปัตยกรรม ตอน ๒ “ช่วงยุคทอง – หลังยุคทองของอาณาจักรล้านนา”

ช่วงยุคทองของอาณาจักรล้านนา เจดีย์ทรงปราสาท ลวดลายประดับองค์เจดีย์ส่วนใหญ่ยังคงอยู่ที่กรอบซุ้มจระนำหรือซุ้มโขงที่รับบันไดบนชั้นฐานประทักษิณ ประติมากรรมนูนต่ำ มีการพัฒนาลวดลายจนเป็นแบบอย่างพื้นเมืองล้านนา เส้นสายและกรอบโครงเป็นรูปทรงอิสระและเลียนแบบธรรมชาติมากขึ้น เช่น “ลายพรรณพฤกษา” (ลายเครือเถา ลายเครือล้านนา) เป็นรูปดอกไม้ใบไม้ต่างๆ รวมถึงลายดอกไม้ร่วงที่ได้รับอิทธิพลจากลังกาใช้ประดับเพื่อลดที่ว่างของพื้นหลัง “ลายเมฆไหล” ได้รับอิทธิพลศิลปะจีน และ “ลายกระหนกล้านนา” ที่ขมวดหัวจนเกือบเป็นวงกลม ลวดลายในงานประติมากรรมนูนตํ่ามีลักษณะคล้ายงานฉลุโปร่ง ขอบลายคมชัด ดูเหมือนแยกส่วนจากพื้นเรียบด้านหลัง ประติมากรรมนูนสูง นอกจากพระพุทธรูป ยังมีรูปเทวดา และรูปสัตว์หิมพานต์ ตามแนวความคิดจักรวาลคติ เช่น นาค สิงห์ หงส์ ครุฑ กินนร กินนรี รวมไปถึงมกรและมอม เจดีย์บางองค์ประดับรูปปูนปั้นช้าง ล้อมรอบส่วนฐานประทักษิณ ตามอิทธิพลศิลปะลังกา เจดีย์ทรงระฆัง มีบัวซ้อนชั้นรับองค์ระฆังประดับลายกลีบบัว คั่นด้วยชั้นท้องไม้เจาะช่องสี่เหลี่ยมและรูปเทวดา การตกแต่งพื้นผิว ในช่วงยุคทองของอาณาจักรล้านนา เจดีย์บางองค์ตกแต่งพื้นผิวในบางส่วนหรือรอบองค์เจดีย์ โดยการ “หุ้มทองจังโก” ซึ่งทำด้วยทองสำริด ตีแผ่นบางสำหรับบุผิว และ “ดุนลาย” บางองค์ประดับลายเป็นแถบโอบรอบในส่วนกลางองค์ระฆังเรียกว่า “รัดอก” และในส่วนปลายองค์ระฆังเรียกว่า “บัวคอเสื้อ” ตามอิทธิพลศิลปะพุกาม หรือมีการตกแต่งพื้นผิวแบบ “ลงรักปิดทอง” […]

Posted on

เครื่องประดับสถาปัตยกรรม ตอน ๑ “ช่วงก่อนยุคทองของอาณาจักรล้านนา”

ช่วงก่อนยุคทองของอาณาจักรล้านนา ประกอบด้วย ประติมากรรมนูนตํ่าและนูนสูง โดยเฉพาะเจดีย์ทรงปราสาท ที่เน้นการประดับลวดลายส่วนเรือนธาตุ เช่น แนวเส้นลวดบัวประดับเสาและกรอบซุ้มจระนำ ประติมากรรมนูนต่ำ มีลักษณะแบบลายทึบ ผิวหน้าของตัวลายเรียบเสมอกัน ทำให้ดูเป็นเนื้อเดียวกับพื้นเรียบด้านหลัง ลวดลายพื้นฐานเป็นลวดลายที่เชื่อมโยงกับศิลปะทวารวดีทางตอนใต้และศิลปะพุกามทางตะวันตก รวมทั้งศิลปะคุปตะในอินเดีย ประกอบด้วย ลายแม่แบบ ได้แก่ ลายประดิษฐ์ของดอกไม้ ใบไม้ ในกรอบโครงรูปเรขาคณิต เช่น วงกลม สี่เหลี่ยม สามเหลี่ยม วงรี เส้นขนาน หรือมีการจัดเรียงแถวอย่างเป็นระเบียบและไม่ซับซ้อน ประติมากรรมนูนสูง มักใช้สำหรับรูปเคารพ ได้แก่ พระพุทธรูป รูปเทวดา นอกจากนี้มีรูปสัตว์ เช่น มกร หน้ากาล และสัตว์หิมพานต์ เช่น สิงห์ ครุฑ คชสีห์ หงส์ ซุ้มจระนำ กรอบโค้งหยักบนชั้นเรือนธาตุของเจดีย์ทรงปราสาทในสมัยก่อนยุคทอง หน้ากาล (เกียรติมุข กีรติมุข ราหู สิงหมุข) รูปหน้าอมนุษย์ มีศีรษะ ไม่มีริมฝีปากล่าง ไม่มีลำตัว ใช้ประดับเหนือซุ้มหรือทางเข้า เป็นสัญลักษณ์ตามความเชื่อของศาสนาพราหมณ์ ในการขจัดสิ่งชั่วร้ายไม่ให้เข้าไปในอาคาร […]