1.การระบุความเสี่ยง (identifying) หากท่านข้ามถนนในกรุงเทพฯ มาตั้งแต่เด็ก ท่านจะรู้ว่าความ เสี่ยงมีอะไรบ้าง เช่น รถที่แล่นมาตามทางอาจชนท่าน อาจมี มอเตอร์ไซค์แล่นสวนทาง ถนนลื่นและน้ำเจิ่งนองอาจทำให้ หกล้มได้ หากถนนกว้างต้องแบ่งการข้ามเป็นช่วง หากมีรั้ว กลางถนนก็ต้องปีนข้าม แต่ในกรณีของคนที่ไม่เคยข้ามถนน อาจทำตามในหนังสือที่เขียนไว้ว่า ให้มองซ้าย มองขวา แล้วจึง ข้ามถนน สองคนนี้ย่อมมีผลลัพธ์ของการข้ามถนนที่แตกต่างกัน การระบุความเสี่ยงที่แตกต่างกันนี้เกิดจากประสบการณ์
2.การวัดค่าความเสี่ยง (assessing)
เมื่อระบุรายการความเสี่ยงได้ว่ามีเรื่องอะไรบ้าง ท่านจะเริ่มเห็นแล้วว่า กว่าจะข้ามไปถึงฝั่งโน้นได้ ดูแล้วท่าจะยาก ดังนั้นไม่ข้ามถนนเลยอาจจะดีกว่า หรือ หากตัดสินใจว่าจะข้ามถนนอาจจะต้องมีรางวัลที่ทำให้ท่านอยากข้ามอย่างชัดเจน หรือท่านอาจจะยอมเดินไปไกลหน่อยไปหาสะพานลอยข้าม ข้ามถนนได้ช้าลง แต่ปลอดภัยแน่นอน
3.การทำแผนจัดการความเสี่ยง (responding) เมื่อตัดสินใจว่าจะข้ามถนนตรงนั้นและไม่ใช้สะพานลอย ท่านก็ ต้องออกแบบขั้นตอน รอจังหวะรถว่าง แล้วมองทางซ้ายเผื่อมี รถมอเตอร์ไซค์วิ่งสวนมา แล้วข้ามไปอย่างระมัดระวังไม่ให้ล้ม จากนั้นต้องเตรียมปีนเกาะกลางถนน เมื่อปีนเสร็จก็รอรถว่างอีกครั้งพร้อมกับระวังมอเตอร์ไซค์ที่อาจวิ่งสวนมาทางฝั่งตรงข้าม และมองหาตำแหน่งว่างๆ บนทางเท้าที่จะเดินไปได้ โดยมีหลักการว่าท่านต้องสร้างภาพเคลื่อนไหวของการข้ามถนนเป็น ขั้นตอนที่สมบูรณ์ในหัวอย่างชัดเจนทุกขั้นตอน แล้วจึงจะเริ่ม ข้ามถนน
4.การควบคุมความเสี่ยง (controlling) เมื่อทำการข้ามถนนจริงๆ ก็ดำเนินการตามแผนทุกประการ และพร้อมรับสถานการณ์หากมีเหตุการณ์ไม่คาดฝันโดย การปรับตัว เช่น ดูเหมือนรถว่าง แต่ทว่า มีรถสปอร์ตวิ่งมาด้วย ความเร็ว 300 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ก็ต้องรอให้รถผ่านไปก่อน ถ้าหากทำของตก ก็ต้องรอจังหวะถนนว่างก่อน แล้วเดินถอย มาเก็บ จากนั้นจึงข้ามถนนต่อไป เป็นต้น
ความกลัวเกินไป ใจร้อนเกินไป หรือให้ความรักความไว้ใจเกินไป จะทำให้ มองข้ามประเด็นความเสี่ยงสำคัญหลายอย่าง มีคำกล่าวที่ว่า “เวลาที่ท่าน ดูแลลูกค้าท่านจะต้องเป็นสัตว์เลือดอุ่น มีความปรารถนาดี เอาใจใส่ แต่เวลาที่ท่านนำข้อมูลเข้ามาเพื่อประมาณการตัดสินใจทางธุรกิจ ท่านต้อง เลือดเย็นไม่มีอารมณ์ใดๆ ทั้งสิ้น” เอาความจริงมาสนทนากันเท่านั้น ตัดอารมณ์ออกไปให้หมด
จัดพิมพ์โดย สำนักพิมพ์ลายเส้น
ผู้เขียน : ด.ร พร วิรุฬห์รักษ์